สุขศึกษาพละศึกษา
สุขศึกษาและพลศึกษา
ในปัจจุบันสังคมมีการพัฒนาด้านวัตถุและเทคโนโลยีก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว
แต่ท่ามกลางวิวัฒนาการและความเจริญก้าวหน้าดังกล่าว สังคมยังคงประสบปัญหานานัปการ เช่น ปัญหาความขัดแย้งผลประโยชน์ การทำลายสิ่งแวดล้อมปัญหาความรุนแรง ปัญหายาเสพติดที่กำลังแพร่ระบาด ปัญหาเยาวชนในวัยเรียนขาดคุณธรรม จริยธรรม ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ หลายฝ่ายต่างลงความเห็นสอดคล้องกันว่าเกิดจากความล้มเหลวของการศึกษา ที่ไม่สามารถสร้างคนไทย ให้เป็นคนที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ได้ การจัดการเรียนรู้ยังไม่มี คุณภาพเป็นที่พอใจ ซึ่งมีสิ่งที่บ่งบอกว่าจำเป็นต้องมีการปฏิรูปการเรียนรู้ในระบบโรงเรียน ดังนี้
1. การเรียนรู้ที่เน้นวิชาการ รู้แต่หนังสือ ถูกล้อมกรอบด้วยตารางเรียนและ ห้องเรียน การพัฒนาคนจึงไม่เอื้อให้มีคุณลักษณะเป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุขมองกว้าง คิดไกล ใฝ่สูง มุ่งทำงาน ชาญชีวิต
2. วิธีการเรียนรู้ไม่เน้นกระบวนการให้ผู้เรียนได้พัฒนาในด้านการคิดวิเคราะห์ การแสดงความคิดเห็น และ การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ครูยังเป็นผู้มีอำนาจในชั้นเรียน กระบวนการเรียนรู้เป็นทุกข์ บรรยากาศและสภาพแวดล้อมไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ รูปแบบของการจัดการเรียนรู้ยังเป็นพฤติกรรมจำเจและพฤติกรรมถ่ายทอด
อย่างไรก็ตาม ในภาวะ “วิกฤติ” ก็ยังมี “โอกาส” ที่เป็นความหวัง และถึงเวลาแล้วที่ต้องมีการปฏิรูปการเรียนรู้ครูและผู้บริหารจะต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการจัดการ เรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด ภายใต้ความเชื่อตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ปรับปรุงแก้ไข (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ที่ยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด
2. ความหมายของคำว่า "สุขศึกษา"
สมาคมการศึกษาแห่งชาติและสมาคมแพทย์อเมริกัน ได้ให้ความหมายของคำว่า "สุขศึกษา" ไว้ดังนี้ สุขศึกษา คือ ผลรวมของประสบการณ์ที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติ เจตคติและความรู้เกี่ยวกับสุขภาพDorothy Nyswander ได้ให้ความหมายของสุขศึกษาไว้ดังนี้ สุขศึกษา คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดขึ้นในตัวบุคคล การเปลี่ยนแปลงนี้สัมพันธ์กับความสัมฤทธิ์ผลส่วนบุคคลและส่วนชุมชนตามเป้าหมายทางสุขภาพอนามัย สุขศึกษาไม่สามารถที่จะหยิบยื่นให้บุคคลอื่นโดยบุคคลหนึ่งได้ สุขศึกษาเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพลวัตรที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา โดยบุคคลอาจยอมรับหรือไม่ยอมรับข้อมูล เจตคติ และการปฏิบัติใหม่ๆ ซึ่งเกี่ยวกับเป้าหมายของการมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขก็ได้ W.H.O. Technical Report No.89 ให้ความเห็นว่า สุขศึกษาก็เช่นเดียวกับการศึกษาทั่วๆไป คือ เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงความรู้ ความสามารถและพฤติกรรมของบุคคล สุขศึกษาจะเน้นที่การพัฒนาการปฏิบัติทางสุขภาพอนามัย ซึ่งเชื่อว่าจะก่อให้เกิดสภาวะความเป็นอยู่ที่สมบูรณ์ที่สุด Mayhew Derryberry ให้ความหมายสุขศึกษาไว้ง่ายๆ เพื่อให้บุคคลทั่วไปเข้าใจดังนี้ สุขศึกษาเป็นการเปลี่ยนแปลงความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เจตคติที่มีต่อการป้องกันและรักษา และการปฏิบัติทางสุขภาพอนามัย ตลอดจนนิสัยในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นผลจากประสบการณ์หลายๆอย่างของบุคคลนั้น ดังนั้น สุขศึกษาจึงไม่ใช่กิจกรรมที่จะทำโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเท่านั้น แต่เป็นปฏิกิริยาตอบสนองของประชาชนที่มีต่อประสบการณ์ทางด้านสุขภาพทั้งหมดของเขา จากคำจำกัดความต่างๆ ดังกล่าวพอจะสรุปได้ว่า สุขศึกษา คือ ประสบการณ์ทั้งมวลทางด้านสุขภาพที่ทำให้บุคคลเกิดความรู้ เจตคติและการปฏิบัติที่ดีและถูกต้องต่อสุขภาพของตัวเองและชุมชน ทั้งยังผลให้บุคคลและชุมชนมีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น