จิตวิทยาการแนะแนว
ความหมายของการแนะแนว
การแนะแนว หมายถึง กระบวนการทางการศึกษาที่ช่วยให้ บุคคลรู้จัก และเข้าใจตนเองและสิ่งแวดล้อม สามารถนำตนเองได้ แก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง และพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพ ปฏิบัติตนให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
การแนะแนวไม่ใช่การแนะนำ อาจกล่าวได้ว่าการแนะแนวเป็นการช่วยเหลือ ให้เขาสามารถช่วยตนเองได้
ประเภทของการแนะแนว
1. การแนะแนวการศึกษา (Education Guidance)
2. การแนะแนวอาชีพ (Vocational Guidance)
3. การแนะแนวส่วนตัวและสังคม (Personal and Social Guidance)
ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
1. รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
ด้านความสามารถ การเรียน อื่นๆ
ด้านสุขภาพ กาย ใจ พฤติกรรม
ด้านครอบครัว เศรษฐกิจ การคุ้มครองนักเรียน
2. การคัดกรองนักเรียน (ดูข้อมูล จัดกลุ่ม)
ปกติ
กลุ่มเสี่ยง
3. การส่งเสริมพัฒนาให้ได้คุณภาพ
4. การป้องกันและแก้ปัญหา
ใกล้ชิด หาข้อมูล ให้คำปรึกษา
5. การส่งต่อ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก SDQ (The Strength and Difficulties Questionnaires)
การแนะแนวสำหรับอาจารย์และผู้บริหารสถานศึกษา
1. ความหมายของการแนะแนว
2. การแนะแนว VS การแนะนำ
3. การแนะนำ 3 ด้าน การศึกษา อาชีพ ส่วนตัว
4. บริการที่จัดในโรงเรียน 5 บริการ
5. บริการให้คำปรึกษาเป็นหัวใจของการบริการแนะแนว
6. ความหมายของการให้คำปรึกษา
7. Individual Counseling and Group Counseling
8. การเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์และการแสดงออก
9. การเข้าใจธรรมชาติของปัญหา (3 kinds of problem 7 cells)
10. จรรยาบรรณของการให้คำปรึกษา
11. ขั้นตอนในการให้คำปรึกษา
12. เทคนิคการให้คำปรึกษา และ Role Play
ความหมายของการแนะแนว
การแนะแนวสามารถให้ความหมายได้ 3 นัย ด้วยกันคือ
1.ความหมายตามรูปศัพท์ การแนะแนวหมายถึง การชี้แนะการชี้ช่องทางให้ การบอกแนวทางให้ทางให้ เพื่อช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาตัดสินใจได้ แต่มิใช่การแนะนำ ( Advise ) เพราะการแนะนำนั้นผู้ให้ความช่วยเหลือจะหน้าที่เป็นผู้เลือก หรือทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินใจให้ ส่วนการแนะแนวนั้นผู้ให้ความช่วยเหลือหรือนักแนะแนวไม่ได้ ทำหน้าที่เป็นผู้เลือกหรือทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินใจให้แต่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้ข้อมูลต่างๆ แล้วให้ผู้ที่มีปัญหาทำหน้าที่เลือกและตัดสินใจด้วยตนเอง
2.ความมายในแง่กระบวนการ ( Process ) การแนะแนว หมายถึง กระบวนการช่วยเหลือบุคคลให้เข้าใจตนเองและโลกของตน
จากความหมายของการแนะแนวในแง่กระบวนการนี้มีสิ่งที่จะต้องพิจารณาอยู่ 4 ประเด็น คือ
ประการแรก กระบวนการ ( Process ) หมายถึง ปรากฏการณ์ซึ่งแสดงการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา และคำว่ากระบวนการการแสดงให้รู้ว่า การแนะแนวมิใช่เหตุการณ์เดียวกัน แต่ที่เกี่ยวข้องกับชุดของการกระทำหรือลำดับขั้น ซึ่งก้าวหน้าไปเรื่อยๆ สู่เป้าหมาย
ประการที่สอง การช่วยเหลือ ( Helping ) หมายถึง การช่วย การอนุเคราะห์ การสงเคราะห์การให้ประโยชน์ อาชีพที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือ ( Helping Occupations ) เป็นจำนวนมาก เช่น จิตแพทย์นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ ต่างมีวัตถุประสงค์สำคัญอยู่ที่การป้องกัน ( Prevention ) การซ่อมเสริม ( Remediation ) และการเยียวยาแก้ไข( Amelioration ) ความยุ่งยากและความยากลำบากของมนุษย์
ประการที่สาม บุคคล ( Individuals ) หมายถึงนักเรียนที่อยู่ในสถานศึกษา และยิ่งไปกว่านั้นการแนะแนวจัดว่าเป็นการช่วยเหลือที่จัดให้กับนักเรียนปรกติ ( Normal ) ซึ่งต้องการความช่วยเหลือ สำหรับพัฒนาการที่เป็นปรกติ
ประการสุดท้าย การเข้าใจตนเองและโลกของตน ( Understand themselves and their world ) หมายถึงการที่บุคคลรู้ว่าตนเป็นใคร รู้ถึงเอกลักษณ์ของตน ( Personal Indentity ) รับรู้ธรรมชาติของตนอย่างกระจ่าง มีประสบการณ์ เกี่ยวกับโลกของตน สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องและผู้คนที่ตนมีปฏิสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งและสมบูรณ์
3.ความหมายในแง่บริการ (Servicc) การแนะแนวเป็น บริการอย่างหนึ่งที่ทางโรงเรียนจัดขึ้นมาเพื่อให้ความช่วยเหลือนักเรียนทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน เพื่อช่วยให้นักเรียนได้พัฒนาความรู้ความสามารถของตนได้อย่างเต็มที่ สามารถเลือกและตัดสินใจได้ฉลาดแก้ปัญหาต่างๆ ของตนได้อย่างเหมาะสม สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี และสามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
จากความหมายของการแนวแนวในแง่บริการ มีสิ่งที่ต้องพิจารณาก็คือในการจัดโครงการ แนะแนวขึ้นในโรงเรียนนั้นมีบริการต่างๆ ที่จะต้องจัดเพื่อให้บริการแก่นักเรียนอยู่หลายบริการ แต่พอจะจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ บริการหลัก และบริการเสริม
บริการหลัก จัดว่าเป็นบริการที่สำคัญของการจัดโครงการบริการแนะแนวในโรงเรียนซึ่งเป็นบริการที่จะขาดเสียมิได้ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 5 บริการ คือ
1. บริการสำรวจนักเรียนเป็นรายบุคคล (Individual Inventory Service)
2. บริการสนเทศ (Information Service)
3. บริการให้คำปรึกษา (Counseling Service) เป็นหัวใจของการแนะแนว
4. บริการจัดวางตัวบุคคล (Placement Service)
5. บริการติดตามผล
ในการจัดโครงการบริการแนะแนวขึ้นในโรงเรียน ถ้าจะให้บังเกิดผลดีมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง จำเป็นจะต้องจัดให้มีบริการหลักทั้ง 5 บริการนี้อย่างครบท้วน
บริการเสริม หมายถึงบริการที่ไม่ได้เกี่ยวข้องการแนะแนวโดยตรง แต่เป็นบริการที่จะช่วยให้โครงการแนะแนวของโรงเรียนได้ผลดีมากขึ้น ซึ่งได้แก่บริการต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. บริการจัดหาให้และให้ทุน
2. บริการอาหารกลางวัน
3. บริการสอนซ่อมเสริม
4. บริการสุขภาพ
5. บริการที่พัก
จะเห็นได้ว่าบริการต่างๆ ที่จัดเป็นบริการเสริมของโครงการบริการแนะแนวในโรงเรียนนั้นเป็นบริการที่จะช่วยจัดปัญหาต่างๆ ของนักเรียนได้มาก สมควรที่ทางโรงเรียนจะได้จัดให้มีขึ้นในโรงเรียนของตน ควบคู่กับการจัดบริการแนะแนว เพราะจะช่วยให้ความช่วยเหลือนักเรียนของทางโรงเรียนเป็นไปอย่างได้ผลดีและสัมฤทธิผลอย่างแท้จริง
ความสำคัญของการแนะแนว
ปัจจุบันการแนะแนวได้เข้ามามีบทบาทในการศึกษามากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจาก การแนะแนวมีจุดมุ่งหมายและหลักการที่สอดคล้องหรือเหมือนกันกับจุดมุ่งหมายของการศึกษา คือ การช่วยให้เยาวชนของชาติเป็นผู้ที่คิดเป็น โดยเน้นให้ผู้เรียนได้รับการส่งเสริมพัฒนาในทุกๆ ด้าน มุ่งสนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียน ดังจะเห็นได้จากหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนต้นพุทธศักราช 2521 และหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 ได้มีกำหนดให้มีกิจกรรมแนะแนวอย่างน้อย 1 คาบต่อสัปดาห์ ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 และยังได้กล่าวไว้หลักเกณฑ์การใช้หลักสูตรว่า โรงเรียนต้องจัดให้มีบริการแนะแนวส่วนตัว แนะแนวการเรียนและการศึกษาต่อ เพื่อใช่ให้แก้ปัญหาให้นักเรียนสามารถเล่าเรียนได้อย่างมีประสิทธิผล
การแนะแนวการศึกษา ( Educational Guidance )หมายถึง กระบวนการให้ความช่วยเหลือนักเรียนในเรื่องที่เกี่ยวกับการศึกษาโดยเฉพาะ เช่น แนวทางการศึกษาต่อ การเลือกโปรแกรมการเรียน การลงทะเบียน หลักสูตร การเรียนการสอน การวัดผลประเมินผลของโรงเรียน การค้นคว้าเขียนรายงาน การอ่านหนังสือ การเตรียมตัวสอบ การสร้างสมาธิในการเรียน การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
การให้บริการแนวแนวการศึกษา จะช่วยให้นักเรียนรู้จักเลือกและปรับตัวได้อย่างเหมาะสมในเรื่องการศึกษาเล่นเรียนของตน ทั้งยังช่วยให้นักเรียนสามารถวางแผนการศึกษาต่อของตนได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย
จุดมุ่งหมายของการแนะแนวการศึกษา
1.เพื่อช่วยให้นักเรียนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรการเรียนการสอนการวักผลประเมินผล ตลอดจนระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ ของโรงเรียนเพื่อที่นักเรียนจะได้ปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง
2.เพื่อช่วยให้นักเรียนได้รูจักและเข้าใจตนเองอย่างถ่องแท้ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนสามารถตัดสินใจเลือกแผนการเรียนได้อย่างถูกต้องตรงกับความเข้าใจ ความต้องการ ความถนัดและความสามารถของตน
3.เพื่อช่วยให้นักเรียนได้รับข้อสนเทศทางการศึกษาต่อในด้านต่างๆ คุณสมบัติของผู้ที่จะเข้าศึกษา วิธีการเข้าการศึกษา จำนวนที่รับ ค่าใช้จ่ายในการศึกษาเล่าเรียนและระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา เป็นต้น
4.เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ทางโรงเรียนจักขึ้นได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้ความสามารถพิเศษของนักเรียนปรากฏเด่นชัดและได้รับการส่งเสริมพัฒนาอย่างเต็มที่
5.เฟื่อช่วยให้นักเรียนได้ประสบความสำเร็จในการศึกษาตามแผนการเรียนของตน
จุดมุ่งหมายของการแนะแนวอาชีพ
1. เพื่อช่วยให้นักเรียนได้มองเห็นความสำคัญของอาชีพ
2. เพื่อช่วยให้นักเรียนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาชีพต่างๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น และในโลกกว้าง
3. เพื่อช่วยให้นักเรียนได้ตระหนักถึงอิทธิพลของสิ่งต่างๆ เช่น ความถนัด ความสนใจ บุคลิกภาพระดับสติปัญญา สภาพร่างกาย ที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกอาชีพ
4. เพื่อให้ข้อสนเทศแก่นักเรียนเกี่ยวกับอาชีพที่นักเรียนสนใจ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนได้มีความเข้าใจในอาชีพนั้นๆ ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น
5. เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักวิธีการแสวงหางาน วิธีการสมัครงานวิธีการปรับตัวให้เข้ากับงานและวิธีการปฏิบัติตนให้มีความเจริญก้าวหน้าในการทำงาน
6. เพื่อช่วยให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพที่สุจริตทุกอาชีพ
จุดมุ่งหมายของการแนะแนวด้านสวนตัวและสังคม
1. เพื่อช่วยให้นักเรียนเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะและบุคลิกภาพที่เหมาะสมเป็นที่ชื่นชมแก่ผู้พบเห็น
2. เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักตนเอง ยอมรับความจริงเกี่ยวกับตนเอง และรู้จักปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของตนให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
3. เพื่อช่วยให้นักเรียนได้มีความเข้าใจผู้อื่น ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนมีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี ทำให้มีชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
4. เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักรักษาสุขภาพกายและสุขภาพจิตของตนเองให้ดีอยู่เสมอเพื่อจะได้ไม่เป็นปัญหาหรืออุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตของตน
5. เพื่อช่วยให้นักเรียนเป็นผู้มีเจตคติ ค่านิยมและจริยธรรมที่ถูกต้อง ไม่ประพฤติปฏิบัติตนไปในทางที่เสื่อมเสีย
6. เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างและใช่จ่ายเงินให้เกิดประโยชน์แก่ตนอย่างแท้จริง
ในการแบ่งประเภทของการแนะแนวออกเป็น 3 ประเภท คือ การแนะแนว การศึกษา การแนะแนวอาชีพ และการแนะแนวด้านส่วนตัวและสังคม นั้น เป็นการจำแนกประเภทตามลักษณะของข้อมูลหรือข้อสนเทศ ที่ทางโรงเรียนนำมาให้การแนะแนวแก่นักเรียน แต่การแนะแนวทั้ง 3 ประเภทนี้ก็มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เช่น การช่วยเหลือนักเรียนในการวางแผนเกี่ยวกับอาชีพ ก็มีความจำเป็นที่จะต้องเกี่ยวข้องกับการศึกษาของนักเรียน และยังต้องศึกษาองค์ประกอบด้านส่วนตัวและสังคมของนักเรียนพร้อมกันด้วยการเพ่งเล็งให้การแนะแนวแก่นักเรียนเพียงด้านเดียว จะไม่ช่วยให้นักเรียนเกิดความเจริญงอกงาม และมีพัฒนาการสมบูรณ์ครบท้วนอย่างแท้จริง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น